ฝากลงประกาศขายบ้าน

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สร้างบ้านบนที่ดินเปล่า

การซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านนั้น ปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมไม่น้อย เนื่องจากมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจเลือกซื้อที่ดินและสร้างบ้านเอง โดยไม่ได้เลือกซื้อจากบ้านตามโครงการเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการอยู่อาศัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้เช่น การจอดรถขวางหน้าบ้าน, เรื่องขยะ, มลภาวะทางเสียง ฯลฯ หรือเพื่อความต้องการที่ไม่เหมือนใคร เช่นมีบ้านในฝัน อยากมีบ้านที่มีรูปแบบเฉพาะตัว เป็นต้น

ทั้งหมดทั้งมวลนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับการสร้างบ้านซักหลังนึง มีรายละเอียดมากกมายที่จะต้องดูแล หรือให้ความสนใจ คือ

1. แบบบ้าน

การหาแบบบ้านนั้น จะว่าง่ายก็เหมือนจะง่าย มีหนังสือแบบบ้านขายอยู่เป็นจำนวนมาก เรียกว่าเยอะแยะไปหมด หากแต่จะมีเงื่อนไขรายละเอียด ความเหมาะสมของพื้นที่ งบประมาณสนการก่อสร้าง ความสะดวกอื่นๆ เป็นต้น

2. งบประมาณ

งบประมาณในการสร้างบ้านนั้นเป็นเรื่อง ที่ผันแปรได้มากที่สุด ค่าแรงในการดำเนินการ ค่าวัสดุก่อสร้างต่าง ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็ม แผ่นพื้น คอนกรีตผสมเสร็จ รวมไปถึงรายละเอียดอื่นๆ อีกเช่น การวางฐานราก การถมดิน พวกนี้ล้วนแล้วแต่มีต่อต้นทุนในการสร้างบ้านทั้งนั้น ดังนั้นเมื่อจะทำการกู้กับสถาบันการเงินเพื่อทำการสร้างบ้านซักหลังนั้น สิ่งที่ควรคือ จะต้องเผื่องบประมาณบานปลายเสียส่วนหนึ่ง จะดีมาก ป้องกัน หรือสำรองไว้ในกรณีฉุกเฉิน

แทบทุกธนาคารจะมีให้สามารถกู้เพื่อก่อสร้างบ้านได้นะครับ สามารถค้นหาได้ที่นี่
สินเชื่อบ้าน TMBสินเชื่อบ้านบัวหลวง , สินเชื่อบ้านธนาคากสิกรไทย, สินเชื่อบ้านธ.กรุงศรีฯ ส่วนธนาคารของรัฐก็จะมีเช่น ของ ธ.อาคารสงเคราะห์ หรือ ธนาคารออมสิน


3. ผู้รับเหมาในการก่อสร้างบ้านนั้นเป็นอีกหนี่ง

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะผู้รับเหมาที่จะคัดเลือกมานั้นต้องไว้วางใจได้ ไม่หนีงาน ไม่ผลาญงบ ไม่กินหินกินปูน ดังนั้นหากเจอผู้รับเหมาไม่ดี ส่งผลถึงความทนทานของบ้านเลยทีเดียวนะครับ

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องของานไม่เดิน แต่เงินวิ่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเบิกค่าปูน ค่าคนงาน ตรงนี้ควรจัดการมีหนังสือสัญญากันให้เรียบร้อยนะครับ ซึ่งหากผู้รับเหมาที่มีคุณภาพก็สบายใจได้ว่า งบไม่บานแน่ๆครับ

บางวิธีการก็ช่วยให้เราประหยัดงบได้เช่นกันนะครับ เช่น จัดซื้ออุปกรณ์ วัสดุให้เอง ปูนที่ใช้งานก็สั่งปูนผสมเสร็จมาใช้แทนการสั่งปูน หิน ทรายมาดำเนินการเองนะครับ

4. ขออนุญาติก่อสร้าง

แบบบ้าน-ราคา-เงิน มีพร้อมแล้ว ในปัจจุบันนั้น โดยเฉพาะในพื้นที่เมือง การก่อสร้างบ้านนั้นจำเป็นต้องยื่นแบบเพื่อขออนุญาติกับหน่วยงานของรัฐ เช่น อบต. หรือ เทศบาลเพื่อรับรองแบบ และเป็นการสะดวกในการขอเลขที่บ้านในภายหลังอีกด้วย

5. การตรวจรับบ้าน

หลังจากทุกสิ่งอย่างพร้อมแล้ว การก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว จนถึงการตรวจรับมอบบ้านนั้น หากเป็นการก่อสร้างที่เราสามารถไปดู ตรวจสอบได้บ่อย ก็จะช่วยลดปัญหาได้เยอะมากทีเดียว แต่ถ้าไม่ค่อยมีเวลา การตรวจรับบ้านก็จะยุ่งยาก และเป็นปัญหาเยอะมาก วงกบไม่ได้ฉาก ประตูตก พื้นเอียง ฉาบไม่เรียบเป็นต้น พวกนี้ควรเตรียมตัวเช็คกันอย่างละเอียด ก่อนที่จะมีการเซ็นรับกันนะครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น